: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2536
หัวข้อข่าว : ระดมความคิดจัดตั้งสถาบันการเงินอิสลามในภาคใต้
รายละเอียด :
                   วิทยาลัยอิสลามศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  สรุปผลการจัดสนทนาศาสนาวันหยุด

ในหัวข้อ  "สถาบันการเงินอิสลาม  :  มิติที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมุสลิม"  เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา  ณ  

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เพื่อระดมความคิดจัดตั้ง  "สถาบันการเงินอิสลาม"  สร้างแรงกระตุ้นใน

การลงทุนและการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้  ตามนโยบายการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยมีนักธุรกิจ  

หอการค้าจังหวัด  นักวิชาการ  เข้าร่วมมากมาย  มีความเป็นไปได้สูงในการจัดตั้ง

         นายวรวิทย์  บารู  รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร  วิทยาลัยอิสลามศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  เปิดเผยถึงผลของการจัดสนทนาในเรื่องดังกล่าวว่า  ในฐานะที่วิทยาลัยอิสลามศึกษาเป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านศาสนา

อิสลามแห่งเดียวของประเทศ  ที่มีภาระด้านผลิตบัณฑิต  การบริการชุมชน  การศึกษา  วิจัย  รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในด้าน

ต่าง  ๆ  อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาคใต้  โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนา

อิสลาม  สำหรับแนวความคิดในการจัดตั้งสถาบันการเงินดังกล่าว  เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นเกิดการตื่นตัวในการระดมทุน  

การร่วมทุน  อันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ให้เติบโตและขยายตัวยิ่งขึ้น  เพื่อรองรับนโยบายรัฐบาลที่ได้ประกาศและอนุมัติ

ให้จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ  อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ดังกล่าวนับถือศาสนาอิสลาม  มี

ความเชื่อและยึดมั่นในหลักศาสนาอิสลามในเรื่องการออมทรัพย์  ก็ต้องการฝากเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ปราศจาก

ระบบดอกเบี้ย  เพราะดอกเบี้ยนั้นถือว่าผิดหลักศาสนา  ดังนั้นสถาบันการเงินอิสลามเป็นแนวความคิดที่เป็นรูปธรรมที่สามารถ

ตอบสนองทั้งหลักการศาสนาอิสลามและนโยบายของรัฐได้

         สถาบันการเงินอิสลามหรือธนาคารอิสลาม  ดำเนินการด้วยหลักการร่วมลงทุนกันในด้านธุรกิจระหว่างผู้ฝาก

เงิน  ธนาคาร  และผู้ประกอบการ  ทั้งยังเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนประกอบธุรกิจโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย  

ผลประโยชน์ที่ธนาคารได้มาคือ  "ผลกำไร"  จากการร่วมลงทุน  แต่ถ้าหากธุรกิจเกิดการขาดทุน  ผู้ฝากเงินและธนาคารก็

ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ  ประชาชนทั่วไปไม่ว่านับถือศาสนาใดที่มีความไว้วางใจต่อสถาบันการเงินหรือธนาคารอิสลาม  

สามารถรับบริการทุกประเภทจากธนาคารโดยเท่าเทียมกัน  ไม่ว่าการฝากหรือการกู้เงินเพื่อโครงการลงทุนต่าง  ๆ

         รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร  วิทยาลัยอิสลามศึกษา  กล่าวเสริมว่าวิทยาลัยอิสลามศึกษาเป็นเพียงผู้เสนอแนว

ความคิดทางด้านการเงินการธนาคาร  ที่สอดคล้องกับหลักการอิสลามแก่กลุ่มนักธุรกิจ  นักลงทุนที่จะรวมตัว  ร่วมมือหรือ

ตัดสินใจจัดตั้งสถาบันการเงินดังกล่าวเท่านั้น  ซึ่งความเป็นไปได้ในการจัดตั้งก็เป็นไปได้สูง  เนื่องจากขณะนี้แนวความคิด

ในรูปแบบดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วในบางแห่งเช่น  ในจังหวัดปัตตานี  มีสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามปัตตานี  จำกัด,  สหกรณ์

ออมทรัพย์อับนิอัฟฟาล  จำกัด  และล่าสุดที่จังหวัดสตูล  กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการขอตั้งในรูปสหกรณ์ออมทรัพย์

อิสลามเช่นเดียวกัน



                                                                             ******************

โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-04-21 13:07:37 ]