: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 02 ประจำเดือน 02 2536
หัวข้อข่าว : ม.อ. สำรวจความต้องการของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม
รายละเอียด :
                    สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จัดสัมมนาผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม

แปรรูปสัตว์น้ำและแปรรูปไม้ยางพารา  เพื่อหาความต้องการในการฝึกอบรม

         ผศ. วิรัช  บุญสมบัติ  รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  แจ้งว่า

สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  ได้จัดสัมมนาผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำและแปรรูปยางพารา  เมื่อ

เดือนตุลาคม  2535  ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ  มีผู้บริหารจาก  3  โรงงานในจังหวัดปัตตานีเข้าร่วม

สัมมนา  ส่วนโรงงานแปรรูปไม้ยางพารา  มีผู้บริหารจาก  4  โรงงานในจังหวัดยะลาเข้าร่วมสัมมนา  หลังจากสัมมนาแล้วได้

นำผลการสัมมนาเข้าสู่ที่ประชุมของสำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง  เพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ปัญหาของผู้ประกอบการ  

เพื่อนำมาหาทางแก้ไขปรับปรุงทั้งในรูปของการจัดสัมมนาให้ความรู้และอื่น ๆ

         สรุปปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำได้ดังนี้

         1.  ปัญหาเรื่องคุณภาพของวัตถุดิบ  เนื่องจากชาวประมงผู้จับสัตว์น้ำขาดความรู้ในเรื่องการรักษาคุณภาพของ

สัตว์น้ำที่จับได้  โดยไม่เก็บรักษาสัตว์น้ำดังกล่าวไว้ในสภาพที่มีความเย็นเพียงพอ  ทำให้บางครั้งสัตว์น้ำที่นำมาเข้าโรงงานมี

คุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่มีความสดพอ

                              ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้

                   1.1  ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงเรื่องราคาของสัตว์น้ำที่มีคุณภาพต่ำกับคุณภาพดีว่า  ต่างกันเพียงใด  

เพราะราคาที่ต่างกัน  จะเป็นแรงจูงใจให้ชาวประมงรักษาคุณภาพสัตว์น้ำให้มีความสด  เพื่อราคาที่ดีขึ้น

                   1.2  หาข้อมูลเพิ่มเติมราคาน้ำแข็งที่เรือใช้อยู่  มีราคาสูงกว่าที่อื่นหรือไม่  และการหาซื้อน้ำแข็งมา

ใช้ในเรือมีความสะดวกหรือไม่เพียงใด

                   1.3  จากการสัมมนาปรากฏว่า  เรือในแถบมหาชัยมีการใช้ห้องเย็นในเรือ  เหตุใดเรือทางปัตตานี

จึงยังใช้น้ำแข็งแช่สัตว์น้ำอยู่  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นและมีข้อจำกัดในเรื่องนี้อย่างไร  ให้หาข้อมูลเพิ่มเติม

                   1.4  หาข้อมูลเพิ่มเติมว่า  ปัญหาการเก็บรักษาคุณภาพสัตว์น้ำเป็นปัญหาที่เกิดจากเรือหาปลาขนาด

ใหญ่หรือขนาดเล็ก  เพราะเห็นว่าเรือประมงโดยเฉพาะเรือขนาดใหญ่น่าจะมีความรู้ในการเก็บรักษาสัตว์น้ำให้มีคุณภาพดี  แต่ว่า

การจะใช้น้ำแข็งแช่ปลาให้เย็นพอหรือไม่  น่าจะขึ้นอยู่กับราคาของสัตว์น้ำที่จะขายได้ด้วย  ทั้งนี้เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดมาแล้ว  ก็จะ

พบหนทางที่จะแก้ปัญหาและอุปสรรคในเรื่องคุณภาพของสัตว์น้ำได้

         2.  ปัญหาการควบคุมคุณภาพสินค้า  เป็นปัญหาสืบเนื่องจากคุณภาพของวัตถุดิบที่ไม่ดีพอ  ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออก

จากโรงงานมีคุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมายของประเทศลูกค้า

                   ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้

                   2.1  เรื่องนี้เป็นปัญหาสืบเนื่องจากปัญหาคุณภาพวัตถุดิบ  เพราะถ้าวัตถุดิบไม่ดี  ผลผลิตย่อมจะไม่ดี

ด้วย

                   2.2  ผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำมีความสนใจปัญหานี้มาก  เห็นได้จากการที่คณะทรัพยากรธรรม

ชาติเคยจัดฝึกอบรมในเรื่องนี้แล้ว  มีผู้สนใจจำนวนมาก  แต่การฝึกอบรมดังกล่าวยังไม่สามารถสนองความต้องการของผู้ประกอบ

การได้ทั้งหมด  เนื่องจากหลักสูตรการฝึกอบรมยังขาดในส่วนของการปฏิบัติการในห้องทดลอง  จึงมีแนวโน้มที่จะสามารถจัดฝึก

อบรมในเรื่องการรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์นี้ได้  ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการของผู้ประกอบการได้

         3.  ปัญหาการพัฒนาพนักงานและระบบงาน  โดยผู้ประกอบการต้องการจัดอบรมเกี่ยวกับ  Q.C.  และ  Q.C.C.

ภายในบริษัท  โดยต้องการได้ผู้มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะ  ไปดำเนินการให้ภายในโรงงานของบริษัท

                   ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้

                                          3.1 การจัดฝึกอบรม  Q.C.  หรือ  Q.C.C.  มีความเป็นไปได้สูงมากและน่าจะทำได้ก่อนอย่างอื่น

                                          3.2 วิทยากรที่จะสามารถให้ความรู้ในเรื่องนี้มีทั้งในมหาวิทยาลัยและวิทยากรภายนอก  ซึ่งควร

จะใช้วิทยากรจากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

                                          3.3 ให้รวบรวมข้อมูลและรายละเอียดของบริษัทที่สนใจจะฝึกอบรมในเรื่องปัญหาการทำงาน  

ระบบงาน  ระดับของพนักงานที่จะทำ  Q.C.  เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่คณะผู้จัดการฝึกอบรมและวิทยากรต่อไป

         อนึ่ง  จากการสัมมนากลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำ  ผู้ประกอบการได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ  2

ประการคือ

         1.  การจัดฝึกอบรมของทางราชการ  มักจะจัดในมุมมองของราชการเท่านั้น  บางครั้งภาคเอกชนต้องการความ

รู้  เพื่อนำไปใช้งานจริงในภาคเอกชน  ในลักษณะของความรู้ที่เหมาะสมกับภาคธุรกิจอีกทางหนึ่งด้วย

         2.  หากจะมีการฝึกอบรมพนักงาน  ควรจะจัดอบรมในช่วงมรสุม  (ประมาณเดือนธันวาคม)  อันเป็นช่วงเวลาที่

พนักงานของโรงงานมีงานไม่มากนัก

         ปัญหาความต้องการของผู้ประกอบการแปรรูปไม้ยางพารามีดังนี้

         1.  ปัญหาความปลอดภัยในการทำงานเช่น  การขนส่งวัตถุดิบ  หรือความปลอดภัยในตัวโรงงาน  ทั้งนี้เนื่องจาก

การได้รับความเดือดร้อนจากการเรียกค่าคุ้มครอง

                   ที่ประชุมเห็นว่าเป็นปัญหาทางด้านการปกครอง  มหาวิทยาลัยยังไม่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหา

เรื่องนี้

         2.  ปัญหาเกี่ยวกับน้ำยารักษาสภาพไม้  ซึ่งมีราคาสูงและต้องซื้อจากบริษัทผู้ขายในกรุงเทพฯ  โดยบริษัทผู้ขาย

น้ำยาต้องซื้อจากประเทศมาเลเซียอีกต่อหนึ่ง  ผู้ประกอบการแปรรูปไม้ยางพาราต้องการให้มหาวิทยาลัย  หาทางให้มีการผลิต

น้ำยาดังกล่าวในประเทศ  โดยน้ำยาที่ผลิตควรมีคุณภาพดีและราคาถูกกว่าเดิม

                   ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้

                   2.1  ควรนำปัญหานี้เสนอไปยังคณะวิทยาศาสตร์  เพื่อทำการวิเคราะห์น้ำยาดังกล่าว  เพื่อหาความ

เป็นไปได้ในการผลิตภายในประเทศ

                   2.2  ปัญหานี้จะเป็นโอกาสของนักวิชาการที่จะขอทุนมาทำงานวิจัย  เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนได้

อย่างแท้จริงตามที่ชุมชนได้ร้องขอ

                                          2.3  ควรจะประสานงานกับคณะวนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และศูนย์วิจัยยาง  เพื่อ

ขอข้อมูลในเรื่องนี้เพิ่มเติมในทางด้านวิชาการ

                                          2.4 หากมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถผลิตน้ำยารักษาสภาพไม้ภายในประเทศ  มหาวิทยาลัยจะ

พยายามผลักดันให้มีการตั้งโรงงานผลิตภายในประเทศ  เพื่อให้ได้น้ำยาคุณภาพสูงและราคาถูก  เพื่อลดต้นทุนการผลิตของ

ผู้ประกอบการ

         3.  ปัญหาความเสียหายของไม้ที่เกิดการบิดงอจากการอบซึ่งมีจำนวนมากเกินไป  ทางโรงงานต้องเอาไม้ดัง

กล่าวไปทำฟืน  ทั้งที่ได้ลงทุนไปในไม้เหล่านั้นเป็นจำนวนมากแล้ว

                   ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้

                                          3.1 ประสานงานกับคณะวนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เพื่อขอข้อมูลทางด้านวิชาการ

เพิ่มเติม

                                          3.2 ศึกษาว่าการบิดงอของไม้เกิดจากขั้นตอนการผลิตที่ไม่ดีพอ  เช่น  การคัดเลือกไม้  หรือการอบ

ที่ไม่มีประสิทธิภาพพอเช่น  อุณหภูมิไม่เหมาะสม  หรือเกิดจากการเรียงตัวกันของเซลเนื้อไม้ที่เรียงตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ  เพื่อ

หาทางแก้ปัญหาต่อไป

                                          3.3 หาทางส่งเสริมให้นำไม้ที่บิดงอหลังการอบมาใช้ประโยชน์  เช่น  ทำชิ้นส่วนเล็ก ๆ  แทนการ

ใช้ทำฟืน

         4.  ปัญหาสิ่งเหลือใช้ในการผลิตคือ  ขี้เลื่อยที่เหลือจากการแปรรูปไม้  ซึ่งมีเป็นจำนวนมากมีลักษณะเป็นผง  หาก

มีลมพัดแรงจะเกิดการฟุ้งกระจายเป็นมลภาวะ  ซึ่งเป็นภาระแก่ทุกโรงงานในการกำจัด  ทางโรงงานต้องนำไปใช้ประโยชน์หรือ

แปรรูปเป็นสินค้าอื่น

                   ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้

                                         4.1 นำเสนอปัญหาให้นักวิชาการ  นักวิจัย  มาค้นคว้าหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป  ซึ่งจะเป็นการแก้

ปัญหาได้ทั้งในส่วนของโรงงานและปัญหาสิ่งแวดล้อมไปพร้อม  ๆ  กัน

                                         4.2 หาวิธีการนำขี้เลื่อยดังกล่าวมาใช้ประโยชน์เช่น  การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถจำหน่าย

ได้  แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

         5.  ปัญหาการสื่อภาษากับคนพื้นเมือง  ซึ่งพูดภาษาไทยไม่ได้หรือพูดได้ไม่ดีนัก

                   ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า  เป็นปัญหาที่พบเสมอในภูมิภาคนี้  อาจแก้ปัญหาได้โดยการจัดการ

สอนภาษาเป็นกลุ่มย่อย  ๆ  แต่ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่ามีผู้สนใจเข้าอบรมอย่างแท้จริงในจำนวนเพียงพอ

         อนึ่ง  จากการสัมมนากลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปไม้ยางพารา  ผู้ประกอบการได้ให้ข้อเสนอแนะและแจ้งความ

ต้องการเพิ่มเติมคือ

         1.  ผู้ประกอบการต้องการให้มีนักวิชาการเข้าไปศึกษาระบบงานในขั้นตอนการผลิต  เพื่อหาข้อบกพร่องและ

หนทางในการแก้ไขหรือพัฒนาระบบการทำงานต่อไป

                   ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่า  เรื่องนี้สามารถให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในเรื่องการจัดระบบการ

ทำงาน  โดยสามารถหาผู้มีความรู้  ความชำนาญมาศึกษาระบบการทำงานแล้วแก้ไขขั้นตอนการทำงาน  เพื่อลดขั้นตอนการ

ทำงาน  ลดเวลาในการทำงาน  ลดระยะทางในการขนย้ายวัสดุ  อุปกรณ์ภายในโรงงาน  และทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่าง

ประหยัด  โดยหลักวิชาวิศวอุตสาหการน่าจะแก้ปัญหานี้ได้  โดยอาจจัดโครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการในหลักสูตรนี้ต่อไป

         2.  ผู้ประกอบการยังมีความต้องการที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการแปรรูปไม้ยางพารา

เพิ่มเติม

                   ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นว่าปัจจุบันผู้ประกอบการได้รับข่าวสารทางอุตสาหกรรมจากหนังสือ  

"ข่าวอุตสาหกรรม"  ซึ่งเป็นของส่วนราชการเพียงอย่างเดียว  แต่ทางมหาวิทยาลัยยังไม่มีข้อมูลที่เหมาะสมที่จะให้ผู้ประกอบ

การในด้านอื่น  ๆ  ได้

         3.  การแก้ปัญหาต่าง  ๆ  ที่มีอยู่จะต้องไม่ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป



                                                                                          *****************













โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-04-21 13:01:25 ]