: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือน 11 2533
หัวข้อข่าว : รูสะมิแลรำลึก
รายละเอียด :
                    วันที่  9  พฤศจิกายน  2511  เป็นวันแรกที่นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  เดินทางมาอยู่ที่วิทยาเขตปัตตานีเป็นวันแรกเป็นการถาวร  หลังจากที่นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์รุ่นแรกประมาณ

60  คน  ได้ใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์  มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์  เป็นสถานที่เรียน  (ปัจจุบันคือ  

อาคารคณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล)  ซึ่งเป็นสำนักงานชั่วคราวของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในขณะนั้น

         เพื่อรำลึกถึงวันแรกของการเดินทางมาอยู่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบล

รูสะมิแล  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  ของนักศึกษาและบุคลากร  ซึ่งวันดังกล่าวได้รับการขนานนามว่า  "วันรูสะมิแล"  

ข่าวศรีตรังจึงนำบทสัมภาษณ์คณาจารย์บางท่านที่มีส่วนร่วมใน  "วันรูสะมิแล"  มาเสนอต่อท่านดังนี้

         อาจารย์ปราโมทย์    กระมุท

ข่าวศรีตรัง          ขอทราบความเป็นมาและเหตุผลที่ตัดสินใจมาอยู่รูสะมิแล

อ. ปราโมทย์          ในขณะที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร  อาจารย์ที่สอนแนะนำว่าที่จังหวัดปัตตานี

                    กำลังจะเปิดมหาวิทยาลัยใหม่และกำลังเปิดรับสมัครบุคลากร  จึงเห็นว่าเมื่อเรียนจบแล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาไป

                    หางานอีก  และจากการที่ผมเป็นคนภาคใต้แล้วได้กลับมาทำงานที่ภาคใต้  ก็เป็นสิ่งที่ดี

ข่าวศรีตรัง          ยังจำภาพวันแรกที่เดินทางมาถึงวิทยาเขตปัตตานีได้หรือไม่

อ. ปราโมทย์          สำหรับวันแรกที่เดินทางมาถึงมหาวิทยาลัย  ผมไม่ได้ลงมาในวันที่  9  พฤศจิกายน  พร้อมคณะทั้งหมด  

                    แต่ผมลงมาก่อนคือลงมาเมื่อวันที่  4  พฤศจิกายน  2511  พร้อมกับอาจารย์มะเนาะ  ยูเด็น  คุณนงนาถ  

                    สถาวโรดม  ซึ่งในขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่โภชนาการ  คุณกมลทิพย์  เจ้าหน้าที่การเงิน  และนายแว  

                    (นายโรจน์  แวหะหมัด)  พนักงานขับรถ  โดยมาทำหน้าที่ประสานงานกับจังหวัดปัตตานี  เพื่อให้การ

                    ต้อนรับคณะที่จะลงมาในวันที่  9  พฤศจิกายน  2511  ซึ่งทางจังหวัดก็ได้ให้ความร่วมมือและให้การ

                    ต้อนรับคณะที่เดินทางมาถึงเมื่อวันที่  9  พฤศจิกายน  2511  อย่างดียิ่ง  โดยได้นิมนต์พระมาสวดให้พร  

                    มีโต๊ะอิหม่ามมากล่าวคำขอพร  มีคณะกรรมการจังหวัด  พ่อค้า  ประชาชน  ไปต้อนรับคณะที่เดินทางมา

                    ถึงที่สถานีรถไฟโคกโพธิ์อย่างมากมาย

ข่าวศรีตรัง          วิทยาเขตปัตตานีมีนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกกี่คน

อ. ปราโมทย์          จำนวนนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์  ซึ่งเป็นนักศึกษารุ่นแรกมีจำนวนทั้งสิ้น  64  คน  สำหรับ บุคลากรที่

                    จำได้ก็มีทั้งหมด  14  คนคือ  อาจารย์นพ   ปาลกะวงศ์  ณ  อยุธยา  ซึ่งเป็นคณบดีคณะศึกษาศาสตร์คน

                     แรก  อาจารย์จำเริญ  เจตนเสน  อาจารย์ปรีชา  ป้องภัย  อาจารย์ฉวีวรรณ  กาญจนหลิกุล  (วรรณประเสริฐ)  

                     อาจารย์โสภณ  เอี่ยมสุวรรณ  อาจารย์วัน   เดชพิชัย  อาจารย์ประภัสสร  ฮุนตระกูล  (กระมุท)  อาจารย์

                    วันเนาว์  ยูเด็น  อาจารย์มะเนาะ  ยูเด็น  อาจารย์ปราโมทย์  กระมุท  อาจารย์กุลยา  เบญจกาญจน์  อาจารย์

                    นงนาถ  ภักดีเจริญ  (สถาวโรดม)  เจ้าหน้าที่โภชนาการ  คุณกมลทิพย์  (ไม่ทราบนามสกุล)  เจ้าหน้าที่การ

                     เงิน  และคุณโรจน์  (นายแว   แวหะหมัด)  พนักงานขับรถ

ข่าวศรีตรัง          ชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษาและอาจารย์ในระยะแรกเป็นอย่างไร

อ. ปราโมทย์          ทุกคนเหมือนอยู่โรงเรียนกินนอน  โดยอาจารย์พักในบ้านพักในมหาวิทยาลัย  ซึ่งในขณะนั้นมีบ้านพักอยู่  

                    5  หลังและแฟลต  1  หลัง  (แฟลตข้างงานยานยนต์ปัจจุบัน)  ในส่วนของนักศึกษาก็มีหอพัก  1  เป็นที่พัก  

                    โดยนักศึกษาหญิงพักอยู่ชั้นบน  มีอาจารย์ฉวีวรรณดูแล  นักศึกษาชายพักอยู่ชั้นล่าง โดยมีอาจารย์โสภณ

                    ดูแล  ยานพาหนะที่ใช้ส่วนใหญ่อาศัยรถจักรยาน  สิ่งที่ผมประทับใจก็คือความสนิทสนมของทั้งนักศึกษา

                    และอาจารย์  ทุกคนสนิทกันมาก  จะทำอะไรก็ช่วยเหลือกันทั้งคณะ  ทั้งกีฬา  ทั้งดนตรี  ซึ่งในขณะนั้น

                    วงดนตรีศรีตรังของเราดังมาก  ก็มีทั้งนักศึกษาทั้งอาจารย์ร่วมกันเล่นไปออกโทรทัศน์ช่อง  10  หาดใหญ่  

                    เป็นประจำ

ข่าวศรีตรัง          วิทยาเขตปัตตานีในวันนั้นต่างกับวันนี้อย่างไร

อ. ปราโมทย์          ทางด้านวัตถุเปลี่ยนแปลงไปมาก  พื้นที่ก็ใช้ประโยชน์มากขึ้น  ทางด้านสังคมมีสภาพต่างคนต่างอยู่มาก

                    ขึ้นกว่าในสมัยก่อน  อาจเนื่องมาจากสังคมเติบโตขึ้น  เราอยู่กันอย่างสังคมเมืองมากเกินไป  การจัดกิจกรรม

                    ให้คนมาร่วมกันก็ไม่เหมือนก่อน  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันน้อยลง

ข่าวศรีตรัง          ถ้าเป็นไปได้อาจารย์อยากให้สภาพอะไรบ้างในอดีตคงอยู่มาจนถึงวันนี้

อ. ปราโมทย์          อยากให้สภาพความร่วมมือกันทำกิจกรรมของบุคลากรที่ร่วมกันคิดร่วมกันทำ  การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  

                    การมีความรู้สึกร่วมในกิจกรรมต่าง  ๆ  ของมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นและคงอยู่ตลอดไป  นอกจากนี้สิ่งที่อยาก

                    ฝากไว้เป็นข้อคิดคือ  วิทยาเขตปัตตานีเติบโตค่อนข้างช้าในเกือบจะทุกด้าน  ไม่ว่าในแง่ของคณะวิชา  ใน

                    แง่ของกิจกรรม  มหาวิทยาลัยตั้งมายี่สิบกว่าปีเพิ่งจะมีคณะวิชาแต่สองสามคณะ  ในแง่สิ่งที่ควรเติบโต

                    ยังไม่เติบโตเต็มที่ตามความคาดหวังตามนโยบายในการตั้งมหาวิทยาลัย

         อาจารย์วัน  เดชพิชัย

ข่าวศรีตรัง          ขอทราบเหตุผลที่มาอยู่ที่  ม.อ. ปัตตานี

ผศ. ดร.วัน          ผมมีเหตุผลหลายประการประกอบกันคือ  ได้ตั้งความมุ่งหวังไว้ก่อนแล้วว่าเมื่อเรียนจบปริญญา  ก็จะ

                    กลับมาทำงานเพื่อพัฒนาภาคใต้  ซึ่งหลังจากจบปริญญาตรีก็ได้ทำงานที่วิทยาลัยครูสงขลาระยะหนึ่ง

                    แล้วก่อนไปเรียนต่อ  เมื่อเรียนจบปริญญาและกลับจากสหรัฐอเมริกาได้ไม่นาน  ได้ทราบจากอาจารย์

                    มะเนาะ  ยูเด็น  (ซึ่งทำงานอยู่ที่กองการสัมพันธ์ต่างประเทศในขณะนั้น)  ว่ามีการตั้งมหาวิทยาลัยใหม่

                    ชื่อ  มหาวิทยาลัยภาคใต้  ที่จังหวัดปัตตานี  ซึ่งตั้งขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมืองคือ  ให้เป็นสถานที่เป็น

                     เครื่องมือในการพัฒนาภาคใต้  ผมเห็นว่าท้าทายดี  เพราะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้  รัฐบาล

                    คงจะทุ่มเททรัพยากรต่าง  ๆ  และสนับสนุนอย่างเต็มที่  เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐาน  ไม่แพ้

                    มหาวิทยาลัยของประเทศเพื่อนบ้าน  ตามรายละเอียดที่ได้ทราบ  ประกอบกับเห็นว่าตนเองไม่ถนัดใน

                    การทำงานที่กรุงเทพมหานครคือ  ต้องเดินทางไกล  รถแน่น  รถติด  น้ำท่วม  หาที่จอดรถยาก  และค่า

                    ครองชีพสูงนั้นคือประมาณปี  พ.ศ. 2510  นะครับ  ถ้าอยู่กรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบันนี้ผมคงเครียด

                    ตายไปแล้ว  หลังจากวิเคราะห์ด้วยเหตุผลต่าง  ๆ  แล้ว  ผมเห็นว่าปัตตานีไม่ไกลจากบ้าน  บ้านผมอยู่

                    จังหวัดตรัง  คณะที่มาสอนคือคณะศึกษาศาสตร์  ก็เป็นงานฝึกหัดครูที่ตนถนัดอยู่แล้ว  หน่วยงานใหม่

                    ซึ่งเริ่มต้นมาจากใกล้ศูนย์คงมีงานให้ทำมาก  แถมได้พัฒนาท้องถิ่นและสังกัดอยู่สำนักนายกรัฐมนตรีเสีย

                    ด้วย  จึงตัดสินใจมาอยู่ที่นี่หลังจากที่ได้เป็นอาจารย์พิเศษช่วยสอนนักศึกษารุ่นแรกอยู่หนึ่งภาคเรียน  

                    ก่อนเดินทางลงมาปัตตานี

ข่าวศรีตรัง          ยังจำภาพวันแรกที่เดินทางมาถึงวิทยาเขตปัตตานีได้หรือไม่

ผศ. ดร.วัน          ประทับใจมากครับ  ผมและทุกคนที่เดินทางมาถึงสถานีโคกโพธิ์ในวันแรกคือ  วันที่  9  พฤศจิกายน  

                    2511  นั้น  ยังจำได้เสมอว่าทางจังหวัดปัตตานีได้ให้การต้อนรับอย่างดียิ่งคือ  ทั้งข้าราชการ  

                    ประชาชน  นักเรียน  คณะสงฆ์และผู้นำทางศาสนาอิสลาม  ได้ไปตั้งขบวนจัดธงทิว  ปะรำ  วงดุริยางค์  

                    เพื่อจะต้อนรับคณะของเราเต็มไปหมด  บริเวณที่จัดพิธีต้อนรับได้แก่  ถนนและลานจอดรถหน้าสถานี

                    รถไฟโคกโพธิ์  พอรถด่วนเข้าจอดที่สถานีโคกโพธิ์  มองผ่านหน้าต่างรถลงมาเห็นบริเวณสถานีเนืองแน่น

                    ไปด้วยคณะบุคคลดังกล่าวแล้ว  บรรยากาศเหมือนกำลังมีงานมหกรรมที่ยิ่งใหญ่  พวกเราที่อยู่บนรถไฟ

                    ทั้งอาจารย์และนักศึกษาเห็นเช่นนั้น  รู้สึกตื่นเต้นมากและพยายามจัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อยที่สุด  ซึ่งคงสร้าง

                    ความประทับใจให้กับชาวปัตตานีไม่น้อยเหมือนกัน  เพราะอาจารย์ชายทุกคนแต่งชุดสากล  อาจารย์หญิง

                    แต่งชุดสุภาพ  นักศึกษาแต่งเครื่องแบบนักศึกษา  กางเกงสีบลู  เสื้อขาว  เมื่อพวกเราตั้งแถวเสร็จคือ  มี

                    อาจารย์นพ  ปาลกะวงศ์  ณ  อยุธยา  คณบดีเดินหัวแถว  ต่อจากนั้นเป็นอาจารย์และนักศึกษาตามลำดับ  

                    โดยมีนักศึกษาถือป้ายตรามหาวิทยาลัยนำหน้าขบวน  ความจริงเป็นขบวนที่จัดเหมือนตอนขึ้นรถไฟที่

                    สถานีรถไฟหัวลำโพงเมื่อวันที่  8  พฤศจิกายน  2511  นั่นเอง  ป้ายตรามหาวิทยาลัยก็คือป้ายที่นักศึกษา

                    เตรียมมาติดข้างตู้รถไฟเพื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยใหม่  แต่ตราที่ใช้ไม่ใช่ตรา  มอ.  อย่างที่ใช้อยู่

                   ในปัจจุบันนี้หรอกครับ  เพราะยังไม่ได้รับตราพระราชทาน  มหาวิทยาลัยจึงใช้ตราตัว  ม.  เหมือนกับ

                   ของมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นการชั่วคราวก่อน  พูดเรื่องตรามหาวิทยาลัยเสียยืดยาว  ก็วกกลับมาถึงขบวน

                   ของเราต่อไป  ทางจังหวัดได้ให้พวกเราเดินแถวเรียงหนึ่งผ่านซุ้มแรก  เพื่อรับน้ำพระพุทธมนต์จากท่าน

                    อาจารย์ทิม  เจ้าอาวาสวัดช้างให้ในขณะนั้น  พร้อมกับการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์  การสวดมนต์  และ

                    การยืนตรง  จากข้าราชการ  พลเรือน  ตำรวจ  ทหาร  ประชาชน  และนักเรียน  เพื่อแสดงการต้อนรับ

                   ที่คณะของเราลงเหยียบพื้นดินปัตตานีเป็นครั้งแรก  หลังจากนายพูนสวัสดิ์  กำลังงาม  ผู้ว่าราชการ

                   จังหวัดกล่าวต้อนรับ  และอาจารย์นพ  ปาลกะวงศ์  ณ  อยุธยา  กล่าวขอบคุณและบอกปณิธานของ

                   มหาวิทยาลัยแล้ว  ทางจังหวัดได้จัดให้พวกเราแยกย้ายกันขึ้นรถเดินทางมารูสะมิแล  สำหรับอาจารย์

                   นั้นมีรถของหัวหน้าส่วนราชการต่าง  ๆ  ช่วยบริการ  ผมจำได้ว่าวันนั้นผมนั่งรถของท่านคลังจังหวัด  

                   โดยมีท่านเป็นผู้ขับเองเพราะเป็นรถส่วนตัว

                       เมื่อเดินทางมาถึงทางแยก  (หอนาฬิกาในขณะนี้)  เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญประดิษฐ์  ผมมี

                   ความรู้สึกเหมือนกับเดินทางไปในถนนรอบเกาะที่ฮาวายคือ  สองข้างทางร่มรื่น  เต็มไปด้วยต้นมะพร้าว

                   และไม่มีบ้านเรือน  บรรยากาศยังคงเป็นธรรมชาติอยู่มากและเมื่อเดินทางมาถึงบริเวณมหาวิทยาลัย  

                   ฯพณฯ  พันเอกถนัด  คอมันตร์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและประธานคณะกรรมการ

                   พัฒนาภาคใต้ในขณะนั้น  ได้รอต้อนรับพวกเราอยู่ที่โรงอาหารและร่วมรับประทานอาหารเที่ยง  ซึ่ง

                    เป็นอาหารมื้อแรกของพวกเราที่รูสะมิแลนี้ด้วย  โรงอาหารหลังนั้นก็คือที่ทำการสหกรณ์รูสะมิแลใน

                    ขณะนี้นั่นเอง

                       สรุปแล้วผมประทับใจหลายอย่าง  จึงเล่าเสียยืดยาว

ข่าวศรีตรัง          จำนวนคณาจารย์รุ่นแรกที่จำได้มีใครบ้าง  นักศึกษารุ่นแรกคณะอะไร  จำนวนเท่าไรที่เดินทางมาถึง

                     ในวันรูสะมิแล

ผศ. ดร. วัน          ความจริงมีอาจารย์จำนวนหนึ่งได้เดินทางมาก่อนพวกเราแล้วคือ  เดินทางมาโดยรถโฟล์คตู้ประมาณ

                     วันที่  4 - 5  พฤศจิกายน  2511  ที่ผมจำได้ก็มีอาจารย์มะเนาะ  ยูเด็น  อาจารย์ปราโมทย์   กระมุท  

                     อาจารย์สมรวม  หิรัณยากาศ  และคุณกมลทิพย์  วิชัยดิษฐ์  ซึ่งมาทำงานอยู่ไม่นาน  สำหรับคณาจารย์

                    ที่เดินทางมาถึงในวันที่  9  พฤศจิกายน  2511  ที่ผมจำได้คือ  อาจารย์นพ  ปาลกะวงศ์  ณ  อยุธยา  

                    อาจารย์จำเริญ  เจตนเสน  อาจารย์โสภณ  เอี่ยมสุวรรณ  อาจารย์ฉวีวรรณ  กาญจนหลิกุล  อาจารย์ปรีชา  

                    ป้องภัย  อาจารย์กุลยา  เบญจกาญจน์  อาจารย์ประภัสสร  ฮุนตระกูล  อาจารย์นงนาถ  ภักดีเจริญ  อาจารย์

                    วันเนาว์  ยูเด็น  ครอบครัวของ  Dr. Cohn  อาจารย์ชาวต่างประเทศ  และผม

                   ส่วนนักศึกษานั้นมีทั้งหมด  66  คน  เป็นนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์เพียงคณะเดียวทั้ง ๆ  

                    ที่ตอนนั้นมหาวิทยาลัยมี  2  คณะแล้ว  อีกคณะหนึ่งคือคณะวิศวกรรมศาสตร์  ซึ่งเป็นคณะแรกที่ตั้งขึ้น  

                     แต่อาศัยสถานที่เรียนของมหาวิทยาลัยมหิดลอยู่ที่กรุงเทพมหานครก่อนชั่วคราว  เนื่องจากผู้บริหารใน

                    ขณะนั้นประสงค์ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ไปอยู่ที่หาดใหญ่  ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ข่าวศรีตรัง          ชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษาและอาจารย์รุ่นแรกเป็นอย่างไร

ผศ. ดร. วัน          อาจารย์รุ่นแรกนอกจากที่ได้กล่าวนามไปแล้ว  ยังมีอาจารย์ปรีชา  เกตุพุก  อีกคนหนึ่งที่เดินทางมาหลัง

                    พวกเราเพียงไม่กี่วัน  เกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของพวกเราทั้งอาจารย์และนักศึกษาในขณะนั้น  

                    ต้องอดทนมากครับเพราะเคยอยู่ในกรุงเทพมหานคร  แล้วย้ายมาอยู่ในชนบทชานเมืองเล็ก  ๆ  อย่าง

                    ปัตตานีอย่างกระทันหัน  สภาพแวดล้อมที่นี่ตรงกันข้ามกับกรุงเทพมหานครโดยสิ้นเชิง  ในวันแรกที่

                    มาเราเข้าตลาดปัตตานีเพื่อหาซื้อของใช้กัน  ทั้งตลาดปัตตานีหาซื้อไม้กวาดดอกหญ้าได้เพียง  14  อัน  

                    ไม่พอกับห้องพักนักศึกษาและอาจารย์  การเดินทางเข้าไปในเมืองต้องนั่งสามล้อที่พูดคุยกับคนถีบสาม

                    ล้อไม่ค่อยรู้เรื่อง  แต่ใจดี  ค่าสามล้อระหว่างมหาวิทยาลัยกับตลาดคนเดียว  3  บาท  สองคน  5  บาท

                   นักศึกษาทั้งหมดเป็นนักศึกษากินนอนคือ  อยู่ประจำในหอพักที่ต้องเตรียมอาหารให้ทั้ง

                    3  มื้อ  อาจารย์ก็ต้องกินอาหารชุดเดียวกัน  แต่หอพักมีเพียงหอพักเดียว  เราต้องปิดทางขึ้นบันไดกลาง

                    แล้วกั้นระหว่างชั้นบนกับชั้นล่าง  ให้นักศึกษาหญิงนอนชั้นบน  นักศึกษาชายนอนชั้นล่าง  โดยมีอาจารย์

                    เปลี่ยนเวรกันไปนอนที่หอพักกับนักศึกษาด้วย

                   ในการเตรียมอาหารนั้น  แม่ครัวประสบปัญหามากคือเตรียมเมนูไว้ว่า  มื้อเช้า  มื้อเที่ยง  

                   มื้อเย็น  จะทำอาหารอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อไม่ให้ซ้ำซากและให้ถูกหลักโภชนาการ  แต่พอไปตลาดกลับซื้อ

                   ของไม่ได้ตามต้องการ  พวกเราก็ต้องทานอาหารรวมมิตรอยู่เสมอคือ  ผักกาด  ผักบุ้ง  มะเขือ  ถั่วฝักยาว  

                   หรือไก่  เนื้อ  ปลา  กุ้ง  อะไรทำนองนี้เพราะของสดมีน้อย  เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้บริโภคจำกัด  แม่ค้าก็สั่ง

                   ของมาขายแต่น้อย  ๆ  พอพวกเราเพิ่มมาเกือบ  100  คน  (รวมคนงานต่าง  ๆ  ที่ทางจังหวัดช่วยบรรจุ

                   รอไว้ก่อนด้วย)  อย่างทันทีทันใด  จึงก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น

                   ผู้ที่ติดรายการเพลงเอฟ  เอ็ม  และภาพยนตร์ฝรั่งสมัยอยู่กรุงเทพมหานคร  ครั้นมาอยู่ที่นี่

                   จำใจต้องฟังวิทยุเอ  เอ็ม  ที่มีแต่เพลงลูกทุ่ง  ต้องดูหนังกำลังภายใน  หนังอินเดีย  หรือดีหน่อยก็หนังไทย  

                   หนังฝรั่งนั้นแทบไม่มีดูเลย  ถ้ามีก็พากย์ไทยหมด  ส่วนโทรทัศน์นั้นมีช่อง  10  หาดใหญ่  เพียงช่องเดียว  

                   ระบบขาว - ดำ  ซึ่งชัดบ้างไม่ชัดบ้าง  เพราะเครื่องส่งยังไม่แรงอย่างขณะนี้

                   การสื่อภาษากับชาวปัตตานีในระยะนั้นมีปัญหาพอสมควร  โดยเฉพาะในการไปซื้อของที่

                   ตลาดสด  มาใหม่  ๆ  ผมหัดพูดภาษามลายูท้องถิ่นได้อย่างงู  ๆ  ปลา  ๆ  วันหนึ่งไปซื้อทุเรียนฟังออกว่า  

                   แม่ค้าขายลูกละ  8  บาท  ผมจะขอต่อราคาเป็นสองลูก  12  บาท  แต่พูดว่า  "ดูวอ  ปูโละ"  พร้อมกับให้

                   เงินไป  12  บาท  แม่ค้าบอกว่ายังไม่ครบ  ขาดอีก  8  บาท  ผมงงใหญ่เลย  คนที่ยืนอยู่ข้าง  ๆ  เขาบอกว่า  

                   "ที่คุณต่อนั้นคือสองลูก  20  บาท"  ถ้าจะต่อสองลูก  12  บาท  ต้องพูดว่า  "ดูวอ  บือละ"  หลังจากหน้า

                    แตกวันนั้นแล้ว  ผมระวังขึ้นมากในเรื่องการต่อราคาของ

ข่าวศรีตรัง          กรุณาช่วยเล่าถึงความประทับใจเมื่อมาอยู่ใหม่  ๆ

ผศ. ดร. วัน          ผมมีความประทับใจหลายอย่างครับ  ประการแรกคือความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์  อาจารย์

                    กับอาจารย์  นักศึกษากับนักศึกษา  และมหาวิทยาลัยกับชุมชนภายนอก  ทั้งหมดเป็นไปแบบความเป็นอัน

                    หนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง  ทั้งนี้เพราะจำนวนคนน้อย  มหาวิทยาลัยก็ยังไม่มีอะไรมากคือ  สถานที่

                    ส่วนใหญ่ยังเป็นที่ลุ่ม  มีน้ำขัง  ไม่มีต้นไม้  น้ำไฟไม่สะดวก  การคมนาคมไม่สะดวก  อาคารมีน้อยคือมี

                    เพียงบ้านพักอาจารย์  5  หลัง  หอประชุม  1  หลัง  เรือนรับรอง  1  หลัง  แฟลต  2  หลัง  อาคารเรียน  

                    1  หลัง  หอพักนักศึกษา  1  หลัง  โรงอาหาร  1  หลัง  โรงครัว  1  หลัง  รวมความแล้วทุกคนที่อยู่ที่นี่

                    จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อพัฒนาภายในมหาวิทยาลัยก่อน  งานที่ต้องรีบทำคือการปลูกต้นไม้  ปรับที่  ตัด

                    ถนน  สร้างอาคาร  ทำความสะอาด  ถมดิน  ตัดหญ้า  นอกจากนักศึกษา  อาจารย์  คนงาน  ต้องร่วมแรง

                    ร่วมใจกันแล้วเรายังต้องรบกวนพ่อค้า  ข้าราชการ  ประชาชนภายนอก  ช่วยให้ความร่วมมือครับ  ที่ผม

                    ประทับใจมากคือทางจังหวัดได้แสดงความภูมิใจที่เขาได้มหาวิทยาลัยมา  เขารู้สึกเป็นเจ้าของ  ให้การ

                    สนับสนุนและได้ให้เกียรติต่อพวกเรามากจริง  ๆ

                   เนื่องจากมีนักศึกษาชั้นปีที่  1  เพียงชั้นเดียว  อาจารย์และนักศึกษาจึงรู้จักจำชื่อได้กันหมด  

                    มีความเป็นกันเอง  รักกันเหมือนพ่อ - แม่ - ลูก  หรือคนในครอบครัวเดียวกัน  ตอนเย็นหรือวันหยุดอาจารย์

                    นักศึกษาจะทอดแหหาหอยแครง  พายเรือ  แข่งเรือ  หาปู  หาปลา  ปิ้ง  ย่าง  และทานอาหารร่วมกันบ่อย

                    ที่สุด

                   ความบริสุทธิ์ของอากาศ  ความสดใสของท้องฟ้าและทะเล  เป็นอีกประการหนึ่งที่ประทับ

                    ใจผมมาก  โดยเฉพาะเมื่อนอนเก้าอี้ผ้าใบอยู่บนระเบียงชั้น  3  ของแฟลต  2  จะมองเห็นทะเลสวยมาก  

                     เนื่องจากต้นไม้ยังไม่สูง

ข่าวศรีตรัง          ช่วยเล่าถึงสภาพของมหาวิทยาลัยในระยะแรกว่าแตกต่างจากวันนี้อย่างไรบ้าง

ผศ. ดร. วัน          ผมได้เล่าไปบ้างแล้วในส่วนของอาคารสถานที่ว่า  อาคารยังมีน้อย  เพราะยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง  

                    ขณะนั้น  (ตอนที่เดินทางมาถึงใหม่  ๆ  )  มีอาคารที่กำลังสร้างอยู่หลายหลังเช่น  หอพัก  2  อาคาร

                    เรียน  2  บ้านพักอาจารย์  บ้านพักคนงาน  รวมทั้งถนนต่าง  ๆ  ด้วยหลายสาย  แต่บริเวณมหาวิทยาลัย

                    ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ถมดิน  จึงเจิ่งนองไปด้วยน้ำ  เพราะพวกเรามาตรงกับฤดูฝนพอดี  แต่น้ำไม่เคยท่วม

                    เพราะยังมีที่รองรับน้ำอีกมาก  ถนนคอนกรีตทุกสายรู้สึกว่าสูงมาก  ซึ่งตรงข้ามกับสภาพทุกวันนี้ที่ถนน

                    กลายเป็นคลองไปแล้ว

                   ความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในบริเวณนี้เป็นอีกอย่างหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไป  สมัยก่อนมี

                    ความอุดมสมบูรณ์มาก  ทั้งกุ้ง  หอย  ปู  ปลา  กบ  เต่า  ในยามฝนตกหรือตอนกลางคืนทุกคน  ถ้าเรา

                    ออกมาเดินเล่นก็จะเห็นปูทะเล  ปลาดุก  ปลาช่อน  ปูแสม  กบ  เต่า  หรืองูทะเล  ขึ้นมาเลื้อยคลานบน

                    ถนนริมคูข้างอาคารบ้านพักหรือริมเขื่อน  (คือถนนชายทะเลในขณะนี้)  อย่างมากมาย

                   แต่ก่อนน้ำทะเลขึ้นมาสูงจนปริ่มเขื่อน  แต่พื้นดินได้งอกออกไปเรื่อย  ๆ  คือบริเวณที่

                    เป็นนากุ้งในขณะนี้  ล้วนเป็นส่วนที่งอกออกไปทั้งนั้น

                   ในด้านความเป็นอยู่ของอาจารย์  ข้าราชการ  นักศึกษา  และคนงาน  ก็มีความสนิท

                    สนมกลมเกลียว  ความมีน้ำใจต่อกันและกันดีกว่าในปัจจุบันนี้มากเช่น  ถ้าบ้านใครรก  หญ้ายาว  

                    หรืออาจารย์โสดบางท่านไม่มีเวลาซักผ้า  ล้างรถ  หรือกวาดบ้าน  มักจะมีคนงานหรือนักศึกษามา

                    ช่วยทำให้  โดยไม่ต้องออกปากและไม่เคยมีใครเรียกร้องเงินทองหรือตั้งราคากันแบบธุรกิจอย่าง

                    เดี๋ยวนี้  ฝ่ายอาจารย์ก็จะแสดงน้ำใจด้วยการให้ของใช้  เสื้อผ้า  รองเท้า  อาหาร  และความเป็น

         ญาติมิตร  ซึ่งหาได้ยากในขณะนี้

                   ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับบุคคลภายนอกเป็นอีกประการหนึ่งที่แตก

                    ต่างจากทุกวันนี้  เพราะแต่ก่อนหากมีงานสังสันทน์  เลี้ยงรับ  เลี้ยงส่งข้าราชการ  งานปีใหม่  

                    หรือโอกาสพิเศษต่าง  ๆ  อาจารย์  ข้าราชการ  รวมทั้งนักศึกษาจะไปร่วมงาน  หรือแสดงความ

                    พร้อมเพรียงกันให้เห็นในทุกโอกาส  ในทางกลับกันถ้ามหาวิทยาลัยมีงาน  ก็จะมีข้าราชการ  

                    พ่อค้า  ประชาชน  มาร่วมงานอย่างหนาแน่นเช่นเดียวกัน  แต่ก่อนเรามีวงดนตรีศรีตรัง  ซึ่งเป็น

                    วงแจ๊สที่บรรเลงได้ไม่เลว  ในโอกาสพิเศษต่าง  ๆ  ไม่ว่าทางโทรทัศน์  ช่อง  10  หาดใหญ่  

                    งานสังสันทน์  งานมงคล  หรือเลี้ยงรับ  เลี้ยงส่งบุคคลสำคัญ  วงดนตรีศรีตรังมักจะได้รับ

                     เกียรติให้ไปบรรเลงเสมอ

                   จึงยิ่งทำให้มหาวิทยาลัยมีความเหนียวแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชนมากขึ้น

ข่าวศรีตรัง          ถ้าเป็นไปได้อาจารย์อยากให้อะไรบ้างในอดีตยังคงอยู่ถึงวันนี้

ผศ. ดร. วัน          หลายอย่างครับ

                              ประการแรก  อยากเห็นอาจารย์  ข้าราชการ  และนักศึกษา  มีความสัมพันธ์ความ

                    ผูกพันและสนิทสนมกลมเกลียวกันเหมือนแต่ก่อน  และให้ส่งผลต่อไปถึงความสัมพันธ์กับชุมชน

                    อย่างแน่นแฟ้นดังที่ได้เล่าแล้ว  โดยเฉพาะเมื่อมีผู้มาอยู่ที่นี่ใหม่  ผมอยากเห็นมหาวิทยาลัยปฐม

                    นิเทศ  บอกนโยบายที่ชัดเจน  ชี้นำ  ชักชวน  และแสดงออกให้เห็นเป็นแบบอย่างว่าเราต้องไม่

                    ทำตนเป็นหอคอยงาช้างอย่างที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่

                   อีกประการหนึ่งคือ  ความเป็นธรรมชาติ  ผมอยากให้มีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม

                    ภายในและรอบ  ๆ  มหาวิทยาลัย  ให้กลมกลืนกับธรรมชาติอย่างที่สุดเช่น  ขุดคลองแบบคด

                    เคี้ยว  ใช้สะพานโค้งข้ามคลอง  ปรับปรุงระบบการปลูกต้นไม้ใหม่คือ  ริมถนนไม่ควรปลูกไม้

                    ใหญ่ที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจราจร  อาจจะปลูกไม้ดอก  ทำสวนหย่อมแทน  ส่วนไม้ใหญ่

                    ควรจะปลูกลึกเข้าไปในที่ว่างซึ่งห่างจากถนน  ขอบสนาม  หรือชายทะเล  เรียกว่าต้องวางผัง

                    กันใหม่  จัดหาเรือพาย  เรือแคนู  มาบริการบุคลากรและนักศึกษาให้ได้พักผ่อนหย่อนใจมาก

                    กว่านี้  ชายทะเลก็ควรพัฒนาให้เป็นธรรมชาติ  และเพาะพันธุ์สัตว์ทะเลที่หายไปขึ้นมาใหม่  

                   ทำให้อุดมสมบูรณ์เช่นแต่ก่อน  ถ้าจำเป็นต้องเลิกนากุ้งก็ควรทำ  การทดลองเลี้ยงสัตว์น้ำ  ถ้า

                   ย้ายไปทำที่อื่นคงจะเหมาะสมกว่าคือ  ถ้าฟื้นฟูธรรมชาติภายในมหาวิทยาลัยเอาไว้  ก็จะทำ

                   ให้อดีตยังคงอยู่ต่อไป



                                                                     *********************



























โดย : 203.154.179.21 * [ วันที่ 2001-03-23 16:55:19 ]