: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 05 ประจำเดือน 05 2533
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ขยายพันธุ์ปลาดุกอุยด้วยฮอร์โมน
รายละเอียด :
                    แผนกวิชาเทคโนโลยีการประมง  ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม  คณะวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ฝึกปฏิบัติการเพาะและขยายพันธุ์ปลาดุกอุยให้แก่

นักศึกษาเทคโนโลยีการประมง  โดยวิธีฉีดฮอร์โมนและมอบพันธุ์ปลาให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่น

         อาจารย์โชคชัย   เหลืองธุวปราณีต  แผนกวิชาเทคโนโลยีการประมง  ภาควิชาเทคโนโลยีและการ

อุตสาหกรรม  เปิดเผยว่าแผนกวิชาฯ  ได้ฝึกปฏิบัติการเพาะและขยายพันธุ์ปลาดุกอุยให้แก่นักศึกษาเทคโนโลยี

การประมงชั้นปีที่  2  โดยวิธีการฉีดฮอร์โมน  GONADOTROPHIC  HORMONE  ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ได้

จากต่อมใต้สมองของปลาดุก  เพื่อกระตุ้นปลาให้วางไข่ซึ่งโดยธรรมชาติของปลาดุกอุยนั้น  การวางไข่จะต้องได้

รับการกระตุ้นให้ไข่สุกโดยวิธีธรรมชาติกล่าวคือ  ต้องมีฝนตกในบริเวณเพียงพอ  มีน้ำใหม่  และสิ่งแวดล้อมของ

ธรรมชาติที่เหมาะสม  และโดยธรรมชาติแล้วปลาดุกจะไข่สุกไม่พร้อมกันแม้แต่ในตัวเดียวกัน  เมื่อไข่สุกไม่พร้อมกัน

อัตราการเติบโตของลูกปลาก็ไม่เท่ากัน  ทำให้เกิดปัญหาลูกปลาที่มีขนาดใหญ่กินลูกปลาเล็ก  และการให้อาหารและ

การจับขายก็มีหลายระยะหลายรุ่น  ไม่สะดวกต่อผู้เลี้ยง

         ผลดีของการกระตุ้นให้ปลาวางไข่คือ  ไม่จำเป็นว่าจะต้องรอฤดูกาล  ก็สามารถกระตุ้นให้ปลาวางไข่

นอกฤดูกาลได้  การเร่งให้ไข่สุก  และการตกไข่ก็สม่ำเสมอพร้อมกัน  ลูกปลาที่ได้มีโอกาสรอดได้มากกว่า  60 %  

จากจำนวนลูกปลา  2,000 - 3,000  ตัวที่ได้จากแม่ปลาตัวเดียว  เพราะไม่เกิดปัญหาลูกปลาใหญ่กินลูกปลาเล็ก  

นอกจากนี้การให้อาหารก็ทำได้ง่ายกล่าวคือ  ลูกปลาที่มีขนาดเดียวกันมีนิสัยการกินอาหารที่เหมือนกันเช่น  ลูกปลา

อายุ  3 - 15  วัน  จะกินไรแดง  อายุ  15  วัน - 1  เดือน  กินรำละเอียดและปลาป่น  หลังจากนั้นจึงสามารถกิน

อาหารได้ทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็นไส้ไก่หรือปลาสับ  และการจับขายก็สามารถทำได้พร้อมกัน  เพราะปลามีขนาดที่

เท่ากันกล่าวคือ  ถ้าเลี้ยงแบบพัฒนา  อายุ  5 - 6  เดือน  (น้ำหนัก  300 - 400  กรัมต่อ  1  ตัว)  ก็สามารถจับขาย

ได้และถ้าเลี้ยงแบบธรรมชาติ  อายุประมาณ  1  ปี  (300 - 400  กรัมต่อ  1  ตัว)  ก็สามารถจับขายได้พร้อมกัน

ทั้งบ่อ

         อาจารย์โชคชัย   เหลืองธุวปราณีต  ชี้แจงต่อไปว่าเหตุผลที่เน้นการขยายพันธุ์ปลาดุกอุย  ก็เพราะ

ปลาดุกอุยเป็นปลาที่ให้เนื้อมากและราคาสูงกว่าปลาดุกด้าน  โดยผลจากการศึกษาเพาะพันธุ์นี้  แผนกวิชาเทคโนโลยี

การประมง  ได้บริจาคลูกปลาดุกอุยอายุ  25  วัน  ให้แก่เกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุกแถบตำบลดาโต๊ะ  อำเภอยะหริ่ง

จังหวัดปัตตานี  จำนวน  7  ครอบครัว  ซึ่งมีบ่อปลาดุกที่เลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา  จำนวนครอบครัวละ  500  ตัว  รวม

ประมาณ  3,500  ตัว  ทั้งนี้แผนกวิชาเทคโนโลยีการประมงและนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีการประมง  ชั้นปีที่  2

จะได้ศึกษาและติดตามประเมินผลการเลี้ยงปลาดุกของเกษตรกรต่อไป



                                                                         ******************

โดย : 203.154.179.22 * [ วันที่ 2001-03-22 15:44:24 ]