: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 3 ฉบับที่ 01 ประจำเดือน 01 2533
หัวข้อข่าว : ม.อ. กับโครงการอีสานเขียว
รายละเอียด :
                      คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  สนับสนุนงาน

พัฒนาตามโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง  เพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวพระราชดำริ  ด้วยโครง

การปลูกยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์  และโครงการปลูกมะม่วงหิมพานต์ในจังหวัดชัยภูมิ

         โครงการปลูกยางพาราในจังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งมี  ผศ. มะเนาะ  ยูเด็น  เป็นหัวหน้าโครงการได้เริ่มโครง

การระยะแรกมาตั้งแต่เดือนมีนาคมและเสร็จสิ้นโครงการเมื่อเดือนธันวาคม  2532  ด้วยการปลูกยางพาราในพื้นที่  

400 ไร่  ในอำเภอประโคนชัยและอำเภอหนองกี่  ผลการดำเนินการปรากฏว่า  พันธุ์ยางพารา  RRIM  600  ซึ่งเป็น

พันธุ์ที่สามารถให้น้ำยางได้ในเกณฑ์ดี  มีโรคน้อย  และไม่แผ่พุ่มต้นมาก  เมื่อนำไปปลูกในโครงการดังกล่าวสามารถ

งอกงาม  ไม่แตกต่างจากที่ปลูกในภาคใต้ในขณะนี้  ต้นยางมีความสูงประมาณ  2  เมตรเศษ

         ผศ. กวี   ศิริธรรม  เลขานุการโครงการฯ  ชี้แจงว่าเนื่องจากเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์  ได้แจ้งความ

จำนงขอเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก  คณะฯ  จึงขอขยายโครงการเป็นปีที่  2  และได้รับจัดสรรงบประมาณ

จากศูนย์อำนวยการช่วยเหลือประชาชนตามแนวพระราชดำริ  ให้ดำเนินการโครงการเป็นปีที่  2  อีก  660,000  บาท

ให้ปลูกยางพาราในพื้นที่  1,000  ไร่  โดยกำหนดปลูกในอำเภอประโคนชัย  200  ไร่  อำเภอหนองกี่  600  ไร่  และ

อำเภอประคำ  200  ไร่  (ปีที่ผ่านมาได้รับงบประมาณ  400,000  บาท)  ระยะเวลาของโครงการตั้งแต่เดือนมกราคม

ถึงเดือนธันวาคม  2533

         สำหรับโครงการปลูกมะม่วงหิมพานต์  ซึ่งมี  ผศ. มานพ   จิตต์ภูษา  เป็นหัวหน้าโครงการ  ได้ดำเนินการ

มาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่  3  กล่าวคือในปี  2530 - 2532  ได้ปลูกมะม่วงหิมพานต์ในจังหวัดมหาสารคาม  ในพื้นที่

1,500  ไร่ในปีแรก  และปีถัดมาปลูกในพื้นที่  3,000  ไร่  สำหรับในปี  2533  นี้กำหนดปลูกในจังหวัดชัยภูมิ  ในพื้นที่

1,300  ไร่

         นายจรัส   ชูชื่น  เลขานุการโครงการฯ  ชี้แจงว่าผลการดำเนินงานตามโครงการปลูกมะม่วงหิมพานต์

ทำให้ทราบว่ามะม่วงหิมพานต์เกาะพะยาม  (จังหวัดระนอง)  เป็นพันธุ์ที่เหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เพราะเจริญเติบโตได้ดีกว่าพันธุ์บลาซิลและพันธุ์อินเดีย  ซึ่งมีปลูกทั่วไปในภาคใต้  อีกทั้งพันธุ์เกาะพะยามโดยปกติแล้ว

ก็ให้ขนาดของเม็ดที่ใหญ่กว่า  กล่าวคือมีขนาดของเม็ด  100 - 110  เม็ดต่อน้ำหนัก  1  กิโลกรัม  ในขณะที่พันธุ์บลาซิล

และพันธุ์อินเดียให้ขนาดเม็ด  130 - 150  เม็ดต่อน้ำหนัก  1  กิโลกรัม  ซึ่งในปีนี้จะปลูกเฉพาะพันธุ์เกาะพะยามเพียง

อย่างเดียว  โดยในระยะนี้อยู่ในขั้นตอนการติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม



                                                                        *****************

โดย : 203.154.179.22 * [ วันที่ 2001-03-22 15:31:46 ]