: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ /1 ประจำเดือน 2/ 2540
หัวข้อข่าว : นักวิชาการ ม.อ. ปัตตานี แนะรัฐควรกระจายความเจริญและเตรียมความพร้อมของพื้นที่ในการรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ
รายละเอียด :
ฉบับที่  096/2540                                                                      16  ธันวาคม  2540

         นักวิชาการ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาพบจังหวัดปัตตานีมีศักยภาพในการรองรับเขตเศรษฐกิจ
พิเศษ      ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของพื้นที่และการกระจายการจัดตั้งโครงการใหญ่  ๆ  ของรัฐ  ประกอบกับรัฐควรสร้างภาพ
ลักษณ์ที่ดีต่อจังหวัดชายแดนภาคใต้  เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ
         ผศ. มานพ   จิตต์ภูษา  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี   หนึ่งในคณะ
ผู้วิจัยเรื่อง   ศักยภาพและแนวโน้มในการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมของจังหวัดปัตตานี  เพื่อรองรับแผนเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัด
ชายแดนภาคใต้  ชี้แจงว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้มีจุดเด่นหลายด้านที่จะช่วยให้การพัฒนาเป็นไปได้สูง  เช่น  เป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรม
และเป็นประตูการค้าสู่ประเทศอาเซี่ยนและตลาดโลก  เป็นแหล่งท่องเที่ยวครบวงจร  มีแผนพัฒนาพื้นที่เป็นการเฉพาะและเร่งด่วน
มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรม  และการเปิดให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ  จากความ
พร้อมต่าง  ๆ  ทำให้เห็นว่าห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้พร้อมที่จะพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจได้มาก
         ในส่วนของจังหวัดปัตตานี  เป็นจังหวัดที่สำคัญจังหวัดหนึ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐบาลให้ความสนใจเป็นพิเศษ  เป็น
เขตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า  เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพิเศษให้เร่งรัด
พัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  โดยเน้นการขยายฐานทางเศรษฐกิจให้มี
การลงทุนด้านอุตสาหกรรมและบริการทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ให้มากขึ้น  ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาการพัฒนาด้านเศรษฐกิจหรือการ
ลงทุนภายในจังหวัดปัตตานียังไม่เด่นชัด  การลงทุนขนาดใหญ่มีน้อยมากทั้ง  ๆ ที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบ  การดำเนินการเกี่ยวกับการลง
ทุน  โดยเฉพาะเขตอุตสาหกรรมจังหวัดปัตตานีเป็นไปค่อนข้างช้า  ทั้งนี้เพราะการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานและกฎระเบียบของ
ทางราชการที่ไม่ค่อยจะเอื้อต่อการดึงดูดใจนักลงทุนเท่าที่ควร  การประสานงานขององค์กรภาคเอกชนและภาครัฐไม่ชัดเจนและเข้มแข็งพอ  
อีกทั้งภาพลักษณ์รวมของจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเชิงลบตลอดมา
         ผศ. มานพ   จิตต์ภูษา  กล่าวว่าโครงการศึกษาวิจัยดังกล่าวมีขอบเขตของการศึกษาวิจัยความพร้อมและศักยภาพ  ตลอดจน
แนวโน้มของกากรพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัดปัตตานี  เพื่อที่จะได้รองรับการพัฒนาจากโครงการพัฒนาต่าง  ๆ  ซึ่งกำลังดำเนินการใน
ปัจจุบันและอนาคต
         จากการศึกษาศักยภาพและแนวโน้มในการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมของจังหวัดปัตตานี  เพื่อรองรับแผนเปิดเขตเศรษฐกิจ
พิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า  จังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมได้ไม่แตกต่างจากจังหวัดอื่น
ใน  5  จังหวัดชายแดนภาคใต้  มีโครงการสำหรับการลงทุนที่น่าสนใจ  อาทิ  โครงการลงทุนประมงนอกน่านน้ำ  การลงทุนในบริษัทตัวแทน
ร่วมลงทุนการประมงกับประเทศเพื่อนบ้าน  การเพาะเลี้ยงกุ้งชายฝั่ง  อุตสาหกรรมอาหารที่ใช้สัตว์น้ำเป็นวัตถุดิบ  อุตสาหกรรมน้ำแข็ง  
อุตสาหกรรมห้องเย็น  อู่ซ่อมเรือ  ด้านปศุสัตว์  และโครงการชำแหละเนื้อไก่ที่มีเครื่องหมายฮาลาลกำกับ  แต่เมื่อรัฐบาลมีโครงการสามเหลี่ยม
เศรษฐกิจขึ้น  โดยได้เลือกจังหวัดสงขลาเป็นเมืองหลัก  จังหวัดปัตตานีเป็นเมืองรอง  ทำให้จุดเน้นและการจัดตั้งโครงการใหม่  ๆ  ยังกระจาย
ไปไม่ทั่วถึงจังหวัดที่เป็นเมืองรอง
         นอกจากนี้ภาครัฐจะต้องพัฒนาด้านอื่น  ๆ  รองรับไว้อย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะความพร้อมของพื้นที่ตั้งในด้านสาธารณูปโภค
และวัตถุดิบที่จะรองรับอุตสาหกรรมต่าง  ๆ  โดยกำหนดเขตเศรษฐกิจที่จะรองรับอุตสาหกรรมให้ชัดเจน  เพื่อให้เกิดความชัดเจนแก่นักลงทุน
และให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่นักลงทุนอย่างเหมาะสม
         ผู้วิจัยกล่าวสรุปว่า  ภาครัฐจะต้องมีความชัดเจนในการกำหนดนโยบายและแผน  เนื่องจากที่ผ่านมาการดำเนินงานของเขต
เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่คืบหน้า  รัฐก็หันไปจัดทำแผนสามเหลี่ยมเศรษฐกิจขึ้นมาอีก  ทำให้มีช่องโหว่ระหว่างประเทศ
เพื่อนบ้านได้  อย่างไรก็ตามประเทศไทยควรมีการพัฒนาทุก  ๆ  ด้าน  ดังที่กล่าวมาแล้วอย่างเร่งด่วน

                                                                                     ***************






โดย : 203.154.179.22 * [ วันที่ 2001-01-27 13:09:43 ]